Skip to main content
ตอนที่ 1 ภาพรวมห้องจัดแสดง 1

นิทรรศการ “วิจิตราภรณ์ และประณีตศิลป์แห่งโขน” ตั้งแต่วันนี้-25 มี.ค. 65 ที่ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน วันอังคาร-อาทิตย์ เวลา 10.00-19.00 น.

ภายในนิทรรศการแบ่งออกเป็น 3 ห้องจัดแสดง

ตอนนี้ จะเป็นภาพของห้องแรกที่เราจะเดินผ่านประตูเข้าไปภายในงาน

ในตอนแรกนี้จะแสดงภาพแทนตาเห็น เพื่อให้ผู้ที่ไม่ได้มีโอกาสเข้าชมได้ชมภาพ เสมือนว่าอยู่ในนิทรรศการจริงๆ

วิธีการถ่ายภาพ
1. ไม่ใช้เลนส์มุมกว้างเด็ดขาด หากเราใช้ ภาพที่ออกมา สเกลสัดส่วนของภาพจะผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง  คือ มันสวยกว่าของจริงไง กว้างจากที่เราเห็น  สัดส่วนเศียรโขน คาดเดาไม่ได้ว่า เล็กหรือใหญ่กว่าศีรษะเราแค่ไหน

จำเป็นต้องเลือกระยะทางยาวของเลนส์ = 100 มม. เพราะ ถ้าเลือก 50 มม. มันกว้างไปนิดนึง อยากให้คนดู รู้สึกว่าใกล้ชิดกับงานศิลป์ที่แสดงอยู่ในงานมากยิ่งขึ้น เห็นเหมือนเรายืนดูอยู่ใกล้เศียรโขนจริงๆ แม้จะมองผ่านไปด้านหลัง ก็จะรู้สึกว่า เศียรอื่นๆ ในงาน ก็อยู่ห่างกันไม่มากนัก ทำให้ความรู้สึกร่วมในการชมงานมีมากยิ่งขึ้น

2. การเลือกแนวระนาบสำหรับตำแหน่งของเลนส์ ส่งผลต่อความรู้สึกผู้ชมอย่างมาก
-บางภาพต้อง ย่อต่ำ เพื่อจำลองสถานการณ์ว่าผู้ชมงาน ย่อตัวเล็งรายละเอียด ชุดพัสตราภรณ์ (เครื่องนุ่งห่มที่เป็นผ้า)
-บางภาพต้องอยู่ในระดับเดียวกับเศียรโขน เพื่อจำลองสถานการณ์ว่าผู้ชมงาน กำลัง จ้องเข้าไปใกล้ชิ้นงานนั้นๆ
-บางภาพต้องอยู่ในระดับที่สูงว่าเศียรโขน เพื่อจำลองสถานการณ์ว่าผู้ชมงาน กำลังยืนมองดูภาพรวมของงาน
 
ทั้งนี้ทั้งนั้น เราต้องวางเลนส์ให้ขนานกับแนวพื้น เพื่อให้เกิดความบิดเบี้ยวน้อยที่สุด

นี่เป็นเพียงแค่แนวความคิดพื้นฐาน ที่หากไม่ทำตามนี้ผลที่ได้ยังไงก็ต่างไปจากนี้ ขึ้นอยู่กับจริตของผู้เสพย์งานแต่ละคน

ภาพชุดนี้ต้องการให้ผู้ชม นั่งอยู่กับบ้านก็เหมือนได้เห็นภาพรวมทั้งงานแบบกว้างๆ ในห้องที่ 1 พรุ่งนี้เราจะมาชมห้องที่ 2และ 3 ตามลำดับ จากนั้น ค่อยมาชมรายละเอียดแต่ละเศียร ในตอนต่อๆ ไป

ด้วยความรู้สึกส่วนตัวป้าชูนั้น ถือว่า เศียรโขน เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงอยากให้ภาพที่ออกมาดูมีมนต์ขลัง  การวัดแสงให้เกิดแสงเงาในภาพจึงมีความจำเป็น  เพื่อนจะได้ชมภาพในงานเสมือนว่าเดินอยู่ในพิพิธภัณฑ์ประมาณนั้นครับ

โปรดติดตามต่อ ในตอนต่อไปครับพี่น้อง