Skip to main content

คิดต่าง อย่างป้าชู ตอน 11

 

มานั่งค้นภาพเก่าๆ ก็มาเจอภาพนี้ ทำให้นึกถึงฉายาเก่า

ที่คนทั่วไปชอบเรียกว่า "ป้าชูปืนกล" เริ่มแรก ทุกภาพที่

ถ่ายถูกตั้งค่าไว้เป็น jpeg ในรูปแบบ standard 

ไม่เปลี่ยนค่าใดๆ คอมพิวเตอร์ก็ใช้ไม่ค่อยจะเป็น 

 

แค่เก็บภาพไว้ในฮาร์ดดิสก์ได้แค่นั้น 

 

ส่วนใหญ่ถ่ายเสร็จก็เอาไปอัดที่ร้านทันที ช่วงแรกอัลบั้ม

เต็มบ้านเลย ดูกันจนตาแฉะ หลังๆ เริ่มมีน้องๆ แนะนำว่า

ให้ถ่ายเป็น RAW มั่ง พอลองใช้ปัญหาก็เกิดเพราะแปลง

สัญญานได้ช้า 

 

คือคอมพิวเตอร์ที่บ้านเป็นรุ่นพระเจ้าเหาครับ 

 

ช้าแบบหอยทากเป็นตะคริวเลย 

 

ถ่ายเสร็จก็เก็บ กว่าจะหาวิธีแปลงไฟล์ได้ก็นานพอสมควร 

ลองแต่งภาพดูมั่งก็รู้สึกว่า เสียเวลามากๆเลย แต่ละภาพ

กว่าจะเสร็จนะหลายขั้นตอนมาก เลยตั้งใจไว้ว่าจะถ่ายภาพ

ให้จบทีเดียวที่หลังกล้องไปเลย 

 

หากจะแต่งภาพก็จ้างมืออาชีพที่เค้ามีความชำนาญไปเลย

ดีกว่า เราเป็นช่างภาพก็ฝึกฝนเพื่อเป็นช่างภาพให้ดีที่สุดส่วน

 

ใครจะคิดยังไงอันนี้เราไม่รู้ คิดแบบนี้ คิดว่าถ้าถ่ายไม่ดี

ไม่มีใครช่วยเราได้ (เราทำเองไม่เป็นไง) 

 

งั้นต้องพลาดให้น้อยที่สุด 

 

ถ้าพลาดก็ถ่ายเพิ่มไปอีกเรื่อยๆ อย่าไปเสียดายเมมโมรี่ 

เลยเป็นที่มาของชื่อว่า "ป้าชูปืนกล" 

 

คือ ถ่ายรัวแบบไม่เสียดายเมมโมรี่การ์ด เรียกว่าไปไหน

หากใครที่คุ้นเคยได้ยินเสียงการกดชัตเตอร์รัวๆ 

เหมือนคนบ้า เค้าจะรู้ทันทีว่าป้าชูปืนกลถ่ายรูปอยู่แน่นอน 

 

แต่วันนี้จะบอกความลับให้ฟังว่าทุกครั้งที่รัวภาพหยั่งกับ

ปืนกลนั้น ภาพที่ได้กลับไม่ใช่ภาพที่รัวเลยนะ 

 

90 เปอร์เซ็นต์ ที่ได้ภาพสวยๆมาจากการกดชัตเตอร์

ครั้งแรกทั้งนั้น ส่วนภาพที่ได้จากการกดชัตเตอร์รัว 

แล้วสวยแบบโชคดีมีน้อยมาก 

 

แค่อยากจะบอกว่า ในบางครั้งหากมัวเสียดายไม่กดรัว 

โอกาสดีๆที่จะได้ภาพที่มหัศจรรย์ก็จะหายไปทันที 

 

เพราะภาพที่สร้างชื่อให้ป้าชูเมื่อครั้งถ่ายงานอภิเษก

องค์กษัตริย์จิกมีแห่ง Bhutan นั้นไม่ได้มาจากการ

กดชัตเตอร์ครั้งแรก แต่เป็นการกดชัตเตอร์รัวแบบปืนกล

นี่เองครับ 

 

ใครคิดว่าการกดรัวแบบไม่คิดชีวิตนั้นจะได้ภาพสวย

ก็คิดผิดอีกนะครับ มันมีเคล็ดลับ ซึ่งป้าชูจะเล่าสู่กันฟัง

ในครั้งต่อๆ ไป ต้องติดตามนะ 

 

ใครทำตามละก็ได้ภาพสวยๆ แบบป้าชูแน่นอนครับ